RSS

Category Archives: การถวายสังฆทาน

การถวายสังฆทาน

การถวายสังฆทาน

dog3b

            การถวายสังฆทาน คือ การถวายทานที่อุทิศแก่สงฆ์ ซึ่งต้องเป็นการตั้งใจถวายแก่สงฆ์จริง ๆ ไม่เห็นแก่หน้าพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือสามเณร เป็นพระสงฆ์เถระหรือพระสงฆ์อันดับ ถ้าเจาะจงจะถวายพระภิกษุรูปใดแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้มีจิตใจไขว้เขวเกิดความยินดียินร้ายไปตามบุคคลที่รับสังฆทานนั้น จะเป็นภิกษุหรือสามเณร จะเป็นรูปเดียวหรือหลายรูปก็ถือว่าเป็นการถวายสังฆทานทั้งสิ้น และถือว่าเป็นผลสำเร็จในการถวายสังฆทานแล้ว เนื่องจากผู้รับสังฆทานที่ถวายถือเป็นการรับในนามสงฆ์ ซึ่งสงฆ์จัดมาหรือเป็นผู้มาถึงเฉพาะหน้าในขณะตั้งใจถวายสงฆ์แล้ว ซึ่งการถวายทานที่อุทิศให้เป็นของสงฆ์จริง ๆ นี้ ในครั้งพุทธกาลมีแบบแผนในการถวายสังฆทาน ๗ ประการ คือ
๑) ถวายแก่หมู่ภิกษุและภิกษุณี มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
๒) ถวายแก่หมู่ภิกษุ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
๓) ถวายแก่หมู่ภิกษุณี มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
๔) ถวายแก่หมู่ภิกษุและภิกษุณี ไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
๕) ถวายแก่หมู่ภิกษุ ไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
๖) ถวายแก่หมู่ภิกษุณี ไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
๗) ร้องขอต่อสงฆ์ให้ส่งใคร ๆ ไปรับแล้วถวายแก่ผู้นั้น

การเตรียมการ
๑) จัดเตรียมทานวัตถุที่ต้องการถวายให้เสร็จเรียบร้อย ตามศรัทธาและทันเวลาถวาย เช่น อาหารคาว อาหารหวาน น้ำดื่ม เครื่องกระป๋อง อาหารแห้ง ของใช้ต่าง ๆ ที่พระสงฆ์ใช้ได้ไม่ผิดพระวินัย (ถ้าอยู่ในกาล คือ เช้า ถึงก่อนเวลาเที่ยงวัน ให้ประเคนได้ แต่ถ้าอยู่นอกกาลไม่ต้องประเคน เพียงแต่ตั้งไว้ ณ เบื้องหน้าพระภิกษุ และให้ประเคนได้เฉพาะวัตถุที่ประเคนนอกกาลได้เท่านั้น)
๒) จัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียนจุดบูชาพระรัตนตรัย
๓) แจ้งความประสงค์ที่จะถวายทานนั้น ๆ ให้พระสงฆ์ทราบ
๔) เตรียมนิมนต์พระสงฆ์ที่จะรับสังฆทาน
๕) จัดเตรียมสถานที่ หรือนัดหมายสถานที่ที่จะถวายสังฆทานให้พระสงฆ์ทราบ

แนวทางปฏิบัติ
๑) พระสงฆ์มาถึงยังสถานที่จะทำพิธีถวายสังฆทาน (ที่บ้านหรือที่วัด) ตามที่กำหนดและนิมนต์พระสงฆ์ไว้
๒) นิมนต์พระสงฆ์นั่งยังอาสนสงฆ์ที่จัดเตรียมไว้ตามจำนวนที่จะถวายสังฆทาน
๓) นำเครื่องสังฆทานมาตั้งเรียงไว้ ณ เบื้องหน้าพระสงฆ์
๔) จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กราบ ๓ ครั้ง
๕) อาราธนาศีล ดังนี้ “มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ. ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ. ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.”
๖) พระสงฆ์ให้ศีล
๗) กล่าวนโม ๓ จบ
๘) กล่าวคำถวายสังฆทาน (ในกรณีถวายสังฆทานเพื่อความสุขความเจริญของตนเอง) ดั
๙) คำกล่าวถวายสังฆทาน (ในกรณีเพื่ออุทิศให้ผู้ตาย)
๑๐) พระสงฆ์รับ “สาธุ”
๑๑) ประเคนวัตถุที่จะถวายสังฆทาน (ถ้านอกกาลคือหลังเที่ยงวันให้ประเคนเฉพาะผ้าไตร หรือเครื่องสังฆทานที่ไม่ใช่อาหาร)
๑๒) พระสงฆ์อนุโมทนา
๑๓) ผู้ถวายสังฆทาน กรวดน้ำ-รับพร
๑๔) เสร็จพิธีถวายสังฆทาน

ที่มา : กรมศาสนากระทรวงวัฒนธรรม. คู่มือกาปฏิบัติศาสนพิธีเบื้องต้น. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๕๖.

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน เมษายน 10, 2015 นิ้ว การถวายสังฆทาน

 

ป้ายกำกับ: ,